ตามที่จังหวัดภูเก็ตได้มีคำสั่งที่ ๖๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการ ป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ ๔) มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น
โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์ เพื่อควบคุมการระบาดในบางพื้นที่โดยเฉพาะในสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลหรือกิจกรรมเสี่ยง ดังนั้น เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการ ด้านสาธารณสุขและรองรับการเปิดประเทศ จึงสมควรผ่อนคลายเกี่ยวกับการให้ประชาชนกระทำการซึ่งอาจ ก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะโดยการไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ สถานการณ์ เพื่อป้องกันสถานการณ์การระบาดของโรคในปัจจุบันภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุม และป้องกันโรคที่กำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ๔๔) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ (ฉบับที่ ๔๕) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และคำสั่ง สบค. ที่ ๑๐/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ จึงออก คำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ยกเลิก คำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ ๖๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการ ป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ ๔)
ข้อ ๒ ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่โรคลดความเสี่ยง จากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรค ผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ผู้อยู่ในสถานที่ปิดที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก ยกเว้น ในระหว่างรับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่ม หรือเพื่อยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือในขณะออกกำลังกาย หรือเมื่ออยู่ในบริเวณโล่งแจ้งที่มี อากาศถ่ายเทสะดวก บริเวณชายหาด สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาซึ่งห่างจากบุคคลอื่นไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เป็นต้น
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เป็นข้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะจึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. ๒๕๓๙
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ และอาจได้รับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราช กําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ๒๕๕๘ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราช กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่น บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง