เชียงรายนำแฟชั่นผ้าล้านนาสู่แฟชั่นระดับโลก “Chiang Rai Fashion to The World 1st Designers Competition”
วันที่ 2 กันยายน 2566 ที่ด่านพรมถาวรแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สาย จ.เชียงราย น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานในการเปิดการแข่งขันเชียงรายแฟนชั่นสู่การออกแบบระดับโลกครั้งที่ 1 “Chiang Rai Fashion to The World 1st Designers Competition” มีนายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย พร้อมด้วยนางนงค์เยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.เชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ
“Chiang Rai Fashion to The World 1st Designers Competition”เป็นการจัดเดินแฟนชั่นบนถนนหน้าด่านพรมแดนหรือ Fashion on the Road การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกันจัดขึ้น ตั้งแต่หน้าด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 1 ไปจนถึง สภ. แม่สาย ซึ่งภายในงาน ยังมีการจำหน่าย เครื่องแต่งกาย ของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธ์ ครื่องแต่งกายแบบล้านนา และ อาหาร-เครื่้องดื่มพื้นถิ่น โดยเครื่องแต่งกาย ของชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ เครื่องแต่งกายแบบล้านนา ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้เข้าร่วมงานซื้อไปสวมใส่จำนวนมาก นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีการเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้าลายไทย และชนเผ่า จากกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 10 กลุ่ม ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ไตหย่า ลาหู่ ลั่ว ไทยวน ไทใหญ่ อาข่า ไทยลื้อ ไทเขิน จีนยูนนาน และลายผ้าชาติพันธุ์เช่น ปกาเกอะญอ ม้ง ลีซู อิ้วเมี่ยน โดย ให้ดีไซเนอร์เล่าเรื่องผ่านเครื่องแต่งกายของชุดชนเผ่าต่างๆ ซึ่งได้มีประกวดกว่า 100 ชุด จากดีไซเนอร์ 72 คน ทั่วประเทศ เพื่อนำแฟชั่นผ้าล้านนาสู่แฟชั่นระดับโลก
นางสาว ฐาปนีย์ ยังกล่าวอีกว่า การเดินแบบบนแคทวอล์คที่ยาวที่สุดของจังหวัดเชียงราย ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวของภาคเหนือ และยังเป็นการสนับสนุนสินค้า โอท๊อป เสื้อผ้าและอาหารพื้นบ้าน นำไปสู่การหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ นางสาว ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. ได้ให้เกียรติเข้าร่วมเดินแบบ พร้อมเหล่านายแบบและนางแบบ และหลังจากเดินแฟชั่นเสร็จได้มีการมอบรางวัล โดยแบ่งเป็นรางวัลที่ 3 ได้รางวัลคนละ 10,000 บาท รางวัลที่ 2 ได้ 100,000 บาท และรางวัลที่ 1 ได้ 200,000 บาท ซึ่งเป็นของคนเชียงรายในชุดโบตั๋น โดยออกแบบชุดลายของชาติติพันธ์อิ้วเมี่ยน