อบจ.เชียงราย เดินหน้าเส้นทางที่2ท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงรายกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชียงราย โดยการบริหารงานของนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์กการบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย/ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีเชียงรายได้มอบหมายให้นางเชิดทรง ฤทธิ์จิตเพียร ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา อบจ.เชียงราย พร้อมด้วย นายปาริชาติ จิระมณี สจ.แม่จัน เขต 3 นำคณะมัคคุเทศก์ พร้อมด้วยตัวแทนองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)หรือ อพท., ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงรายและนักท่องเที่ยว รวม 21 ท่าน เพื่อทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเส้นทางรอง เส้นที่ 2 ท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงราย “3 พี่น้องท้องถิ่นรวมใจ เชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี มีดีทุกเดือน ตามเส้นทาง 5 เส้นทางตามรอยเลื่อน 5 รอยเลื่อน ได้แก่รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนพะเยา และรอยเลื่อนแม่ลาว ที่มีความโดดเด่นและเป็นความต้องการของชาวชุมชนตามนโยบายของนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ที่ว่า“ชาวเชียงรายเป็นศูนย์กลางการปกครองและการพัฒนา สู่ความยั่งยืน” โดยในเฟสแรก กำหนดเส้นทางไว้ 3 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 : ได้มีการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวนี้ไปแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กับ“เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสน่ห์ชาติพันธุ์เชียงราย ผาหมี ดื่มด่ำกับชากาแฟขึ้นชื่อ สัมผัส ความงดงามของชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม การแต่งกาย วิถีชนเผ่า เดินป่าแบบแอดแวนเจอร์ ที่ห้วยน้ำดั้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวไทยอง ทำอาหารไทยอง กิจกรรมปั๊มลายคำ กิจกรรมตัดตุงกระดาษ ณ”เฮือนเก่าไทยอง” บ้านแม่คำสบเปิน ตำบล แม่คำ
ส่วนในครั้งนี้ได้มีการทดสอบแส้นทางที่ 2 เส้นทางท่องเที่ยวอุทยานธรณีชียงราย Chiangrai GeoPark เป็นระยะเวลา 2 วัน 1 คืน โดยคณะมัคคุเทศก์ทั้งหมดจะได้ทดสอบบนเส้นทางบนรอยลื่อนแม่จัน รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับรอยลื่อนแม่จัน และประวัติศาสตร์มืองโบราณโยนก ณ บริเวณวัดป่าหมากหน่อ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน เชียงราย จากนายธีรภัทร์ ทองใบ ผู้อำนวยการอุทยานโยนกนาคพันธุ์
ซึ่งวัดแห่งนี้ มีเรื่องเล่ามากมายที่สืบต่อกันมาเกี่ยวกับ หนองหล่มแห่งนี้ ปลาไหลเผือก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นลูกสาวของพญานาคที่ดูแลอยู่บริเวณนี้ ในสมัยก่อนมีคนจับปลาไหลเผือกได้แล้วนำมาแบ่งกันกินทั้งเมือง มีเพียงแค่หญิงแม่หม้ายคนเดียวที่ไม่ได้กิน เมื่อท่านพญานาคทราบว่าลูกสาวถูกชาวเมืองจับกินก็โกรธมาก จึงทำให้เมืองโยนกนคร จมลงหายไปพร้อมกับคำสาป โดยว่ามีพียงแม่หม้ายคนเดี่ยวที่รอด และบริเวณที่แม่ม้ายอาศัยอยู่ก็กลายเป็นเกาะกลางน้ำอย่างเช่นทุกวันนี้
คณะยังได้เดินทางด้วยรถอีแต๋นเพื่อชมเวียงหนองหล่ม ไปยังปางควายเวียงหนองหล่ม ดื่มกาแฟขี้ควายและจุดชมวิวเวียงหนองหล่มเพื่อเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาจาก นายธีรภัทร์ ทองใบ ผู้อำนวยการอุทยานโยนกนาคพันธุ์ ที่อธิบายถึงเหตุผลประกอบกับหลักฐานที่ทำให้มัคคุเทศก์ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ที่คาดว่าก่อตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๘ อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ.๑๕๕๒ อาณาจักรโยนกนาคนครในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ได้แผ่นดินไหว จนทำให้ที่ตั้งเมืองจมลงไปกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ เหลือไว้เกาะกลางหนองน้ำ(เกาะแม่ม่าย) เรื่องดังกล่าวผู้บันทึกเหตุการณ์น่าจะเป็นพระสงฆ์จึงได้นำเรื่องราวของ ความอภินิหาร ปลาไหลเผือก มาร้อยเรียงเพื่อให้เกิดการจดจำ เกิดความน่าสนใจและเล่าต่อๆกันมาจนทุกวันนี้ โดยตนเองคาดว่าเมืองโยนกน่าจะตั้งอยู่บริเวณเวียงหนองหล่มแห่งนี้เพราะทำเลเหมาะสม ทั้งความอุดมสมบูรณ์ น้ำท่าก็ดีไม่มีแห้งเหือด ประการสำคัญเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยด้วยสูง ถือว่าจังหวัดเชียงราย เป็นดินแดนแห่งรอยเลื่อน โดยมีรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่ยังมีพลังอยู่ พาดผ่านพื้นที่ของจังหวัด รอยเลื่อนในเชียงรายจึงถูดจัดให้เป็น”อุทยานธรณี “หรือ GEOPARK
หลังจากคณะมัคคุเทศก์ได้รับความรู้จากอาจารย์ธีรภัทร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วยังได้เดินทางไปยังถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อเยี่ยมชมความงามของถ้ำและรับการถ่ายทอดประสบการณ์ภารกิจกู้ชีวิต 13 หมู่ป่าจากนายกมล คุณงามความดี จนท.อุทยานถ้ำหลวงฯ ผู้ร่วมปฏิบัติการกู้ชีพในครั้งนั้น ก่อนคณะจะเสร็จสิ้นภาระกิจในวันแรก
วันที่สอง คณะได้เดินทางไปยังศูนย์สาธิตเลี้ยงไหมและทอผ้า ของกลุ่มปลูกเลี้ยงไหมบ้านสันธาตุ อำเภอเชียงแสน เพื่อเยี่ยมชมขั้นตอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทักทอผ้าไหม โดยได้รับการต้อนรับจากนายรังสรรค์ ไชพุฒ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลโยนก
สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มปลูกเลี้ยงไหมบ้านสันธาตุ ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ผ้าไหมไทยชนิด Thai silk โดยตรานกยูง ผ้าไหมสันธาตุเป็นผ้าไหมทอมือ ทอจากไหมไทยแท้ 100% ทำด้วยความประณีตสวยงาม ผ้าไหมไม่ตกสี จุดเด่นของผ้าไหมสันธาตุ คือ จะมีการตีเกลียวเส้นไหมทุกเส้นก่อนการทอ ซึ่งทำให้ได้ไหมเส้นสวย เนื้อผ้าที่เรียบ ไม่มีรอยปุ่มหรือปม ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสันธาตุ ได้แก่ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าโสร่ง ผ้าพันคอ ผ้าซิ่น เป็นต้น นอกจากนั้นชุมชนมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใบหม่อน เช่น ชาใบหม่อน สบู่ เป็นต้น
จากนั้นคณะได้เดินทางต่อไปยังทะเลสาบเชียงแสน(เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย) บ้านกู่เต้า ม. 3 ตำบลโยนก อ.เชียงแสน ทะเลสาบเชียงแสนเป็นหนองน้ำธรรมชาติ มีนายอัยรัตน์ ทองไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย สบอ.15 (เชียงราย) ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลว่า ทะเลสาบเชียงแสน ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเนินเขา มีพื้นที่ประมาณ 2,711 ไร่ “ทะเลสาบเชียงแสน” เป็นที่อาศัยหากินของสัตว์ป่า คุ้มครองชนิดต่างๆ โดยเฉพาะพวกนกน้ำ เช่น นกเป็ดแดง นกเป็ดผี นกอีลุ้ม นกอีล้ำ นกอีโก้ง นกกวักนกกระสานวล ตลอดจนนกกระยางชนิดต่างๆ ประกอบกับภูมิประเทศมีทิวทัศน์ที่สวยงาม จึงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ส่องนกของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ทั่วโลก ที่มาตั้งแคมป์ส่องนกอีกด้วย
อาจารย์ธีรภัทร์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้น GEOPARK อุทยานธรณีเชียงรายดำเนินการมาหลายปีแล้ว จนกระทั่ง อบจ.เชียงรายรับเป็นเจ้าภาพการเข้ามาดำเนินงาน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการระดับโลก จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดเดียวที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยาที่อยู่บนรอยเลื่อนแม่จันซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ซึ่งพร้อมที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ทุกเมื่อ จุดไฮไลน์อุทยานธรณีจังหวัดเชียงรายคือมันตั้งอยู่ใน 3 อำเภอ คืออำเภอแม่จัน อ.แม่สายและอำเภอเชียงแสน ซึ่งจุดกำเนิดอารยธรรมล้านนาก็ก่อเกิดขึ้นบนรอยลื่อนดังกล่าว มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเริ่มจาก อาณาจักรโยนกชัยบุรีศรีช้างแสนที่เป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ออายุพันกว่าปี การที่ อบจ.เชียงรายที่เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในท้องถิ่นที่ควบคุมทั้ง 3 อำเภออยู่แล้วและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. พร้อมที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมกับ อบจ.เชียงรายอยู่แล้ว ทั้งแต่ละชุมชนก็มีศักยภาพ ต้นทุนเดิมไม่ว่าวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นถิ่น ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ชัดเจนแต่ชาวชุมชนไม่สามารถดดำเนินการเดินหน้าให้ถูกต้องได้หรือดำเนินงานในการพัฒนาศักยภาพของตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ การที่ อบจ.เชียงรายลงมาให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนโครงการ GEOPARK อุทยานธรณีเชียงราย จะช่วยให้โครงการเดินหน้าทำให้เศรษฐกิจในชุมชนไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนต่อไป
ด้าน นางเชิดทรง ฤทธิ์จิตเพียร ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หลังจากจังหวัดเชียงรายของเราได้ถูกปประกาศให้เป็น “อุทยานธรณีจังหวัดเชียงราย”มี
นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์กการบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นผู้อำนวยการอุทยานธรณีเชียงราย ซึ่ง อบจ.เชียงราย โดยกองการท่องเที่ยวและกีฬา ก็ได้จัดจัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายขึ้นซึ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ 2 “อุทยานธรณีจังหวัดเชียงราย”ที่ควบคุมทั้ง 3 อำเภอคือ อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน และ อ.แม่สาย ถ้าหากจะให้ อบจ.เชียงราย ขับเคลื่อนตามลำพังเพพียงหน่วยงานเดียวคงจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จจึงต้องมีพันธมิตรโดยเฉพาะกลุ่มมัคคุเทศก์ มาช่วยประชาสัมพันธ์ความรู้ที่ถูกต้องสู่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทาง อบจ.เชียงรายจึงได้มีการส่งแสริมด่านนี้ ที่จะสร้างความยังยืนให้แก่ชุมชนในพื้นที่ โดยทาง อบจ.ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่า อพท., ท่องเที่ยวและกีฬาเชียงราย ชมรมมัคคุแทศก์ และท้องถิ่นทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อให้ โครงการ GEOPARK อุทยานธรณีเชียงราย ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นางณัฐพัชมณ ศรีพิทักษ์สกล อดีตนายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงราย ผู้ก่อตั้งสมาคมฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสมาคมมัคคุเทศก์เชียงราย กล่าวว่า ตนเองได้ร่วมทดสอบและท่องเที่ยวอุทยานธรณีเชียงราย ทั้งสองเส้นทาง ซึ่งในเส้นทางเส้นที่ 2 นี้ น่าสนใจมาก น่าจะต่อยอดได้อีกหลาย Route แต่ก็ควรมีบางอย่างที่ต้องปรับปรุงเสริมแต่งอย่างการท่องเที่ยวชุมชนปลูกเลี้ยงไหมบ้านสันธาตุ น่าสนใจมากและสอดคล้องกับวิถีชุมชนและนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ที่ เชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี มีดีทุกเดือน ชุมชนเลี้ยงหม่อนไหม บ้านสันธาตุตอบโจทย์ด้านการท่องเที่ยว ไปมาสะดวกและยังคงรักษาวิถีชีวิตชุมชนได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ได้มีกการปรุงแต่งแต่มีการพพัฒนาให้เกิดความสะดวกกสบายประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย นักท่องที่ยวสามารถมาเยี่ยมชมได้ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับ GEOPARK อุทยานธรณีเชียงราย ได้ จากวัดป่าหมากหน่อ เวียงหนองหล่ม หนองบงคาย ทะเลสาบเชียงแสน ซึ่ง Trip นี้ทำให้จบได้ภายใน 1 วันในกรณีนักท่องเที่ยวไม่มีเวลามาก ซึ่งในวันนี้เราได้ให้คำแนะนำกับตัวแทนชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ถึงว่าจะทำออย่างไรให้เส้นทางการท่องเที่ยว GEOPARK อุทยานธรณีเชียงราย ได้รับความสนใจ อาทิเช่น ปราชญ์หรือกูรูพื้นถิ่นที่สามารถให้ความรู้ความเพลิดเพลินกับนักท่องเที่ยวได้ หากขาดหัวหน้ากลุ่มหรือวิทยากร อย่างอาจารย์ธีรภัทร์ ไปในกรณีที่ติดภารกิจอื่นแล้วใครจะมาทำหหน้าที่แทน ซึ่งการท่องเที่ยวชุมชนต้องไปหาคนเหล่านี้มาเพื่อไว้ทดแทนกันและกันในกรณีฉุกเฉิน หรือต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพร้อมกันหลายคณะ ต้องมีการเสริมความรู้ให้กับปราชญ์ชาวบ้าน หรือมัคคุเทศก์ชุมชนที่จะมาช่วยแบ่งเบางานด้านการท่องเที่ยว
สุดท้ายขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาลองมาสัมผัสเส้นทางท่องเที่ยว อุทยานเชียงราย GEOPARK ที่เป็นการท่องเที่ยวชุมชนสายรอง ที่ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง……..